top of page

การใส่ไฟล์ออดิโอลงในเว็บเพจ
        เราสามารถใช้แท็กคำสั่ง <audio> ในการใส่ไฟล์ออดิโอลงในหน้าเว็บเพจได้โดยมีรูปแบบดังนี้

รูปแบบ

 

<audio src="ชื่อไฟล์เสียง" ตัวควบคุม>ข้อความ</audio>

 

                   โดยที่

Capture_edited.png

ตัวอย่าง การใส่ไฟล์ออดิโอลงในหน้าเว็บเพจ

1) เมื่อไม่มีตัวควบคุมใด ๆ

<audio src="myaudio.ogg"> </audio>

- การสั่งแบบนี้จะไม่มีผลใดๆ

2) เมื่อให้แสดงแผงควบคุมการเล่น

<audio src="myaudio.ogg" controls> </audio>

                    ถ้าเบราว์เซอร์เล่นไฟล์นั้นจะได้แสดงแผงควบคุมการเล่นบนหน้าจอด้วย เช่น

Capture.PNG

หากเป็นไฟล์ที่เบราว์เซอร์ไม่รองรับ จะแสดงคำเตือนให้ทราบเช่น Internet Explorer เล่นไฟล์.ogg นี้ไม่ได้ จะปรากฏ

errorie.png

เมื่อใช้คำสั่ง preload เพื่อให้เบราว์เซอร์ทำการดาวน์โหลดข้อมูลที่จำเป็นมาไว้ก่อนที่จะโหลดทั้งไฟล์

<audio src="myaudio.ogg" controls preload="metadata"></audio>

เมื่อสั่งให้เล่นไฟล์ทันทีที่โหลดเสร็จ (autoplay) และให้เล่นแบบวนซ้ำ (loop)

<audio src="myaudio.ogg"controls autoplay loop > </audio>

 การกำหนดไฟล์ออดิโอให้ใช้ได้กับทุกเบราว์เซอร์

          ในการที่เราจะเขียนเว็บให้สามารถใช้ได้กับเว็บเบราว์เซอร์ที่หลากหลายได้เราจำเป็นต้องใส่ไฟล์ออดิโอ
หลายๆ ชนิดเพื่อให้ครอบคลุมการรองรับของเว็บเบราว์เซอร์เหล่านั้น แต่แท็กคำสั่ง <audio> แต่ละอันจะมีคำสั่ง src
ให้เราใส่ไฟล์ได้เพียงอันเดียว เพื่อแก้ปัญหา นี้ แท็ก <audio> จึงถูกออกแบบให้สามารถกำหนดไฟล์หลายๆ ไฟล
์ โดยการใช้แท็กคำสั่ง <source> เข้ามาช่วย  ตัวอย่างเช่น

 

                                      <audio controls>
                                     <source src ="sound.ogg" type="audio/ogg">
                                    < source src ="sound.wav" type="audio/x-wav">
                                    < source src ="sound.mp3" type="audio/mpeg">
                            No audio support
              </audio>

 

             โดยทั่วไปเมื่อไม่มีการระบุคำสั่ง src ไว้ในแท็ก <audio> ไฟล์ที่ระบุไว้ในแท็ก<source> อันแรกสุดจะถูกเล่นเมื่อเบราว์เซอร์นั้นรองรับ HTML5 หากเล่นไม่ก็จะเลื่อนไปยังไฟล์ในแท็ก<source> ถัดไปเรื่อย ๆ
แต่ถ้าหากเล่นไม่ได้เลยก็จะไม่เกิดเสียงใดๆและแสดงข้อความที่เรากำหนดไว้เช่น No audio support! เป็นต้น
แต่ทันที่เบราว์เซอร์พบตัวเล่นไฟล์ที่ตรงกับชนิดของไฟล์ที่กำหนด ก็จะเล่นไฟล์นั้นแล้วข้ามไปทำคำสั่งที่อยู่ถัดจาก
</audio> ต่อไป

              ส่วนของ type จะเป็นส่วนที่ช่วยให้เบราว์เซอร์รู้ว่าไฟล์ที่เรากำหนดนั้น เป็นไฟล์ชนิดใดซึ่งจะไม่ใส่ก็ได้ หากจะใส่ให้ดูได้จากตารางข้างล่างนี้

Capture.PNG

การใส่ไฟล์วิดีโอลงในเว็บเพจ

         เราสามารถใช้แท็กคำสั่ง <video> ในการใส่ไฟล์วิดีโอลงใหน้าเว็บเพจโดยมีรูปแบบดังนี้

 

รูปแบบ

<video src="ชื่อไฟล์วิดีโอ" ตัวควบคุม > ข้อความ </video>

โดยที่

Capture.PNG

ตัวอย่างการใส่ไฟล์วิดีโอลงในหน้าเว็บเพจ

 

               1) เมื่อใส่แท็ก <video> โดยไม่มีตัวควบคุมใดๆ <video src="myvideo.mp4"> </video>
การสั่งแบบนี้ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะจะได้ชมเฉพาะเฟรมแรกของวิดีโอนั้นเท่านั้น

 

<video src="myvideo.mp4"> </video>

 

               2) การให้แสดงแผงควบคุมการเล่น<video src ="myvideo.mp4"controls></video>
แผงควบคุมจะถูกซ่อนไว้เมื่อวิดีโอเริ่มเล่นให้เลื่อนเมาส์เข้าไปที่กรอบวิดีโอก็จะแสดงออกมา

 

<video src ="myvideo.mp4"controls></video>

 

               3) การใช้คำสั่ง preload เพื่อให้เบราว์เซอร์ทำการดาวน์โหลดข้อมูลที่จำเป็นมาไว้ก่อนที่จะดาวน์โหลด
ทั้งไฟล์

      <video src ="myvideo.mp4"
              Controls preload="metadata">
     </video>

 4) เมื่อสั่งให้เล่นไฟล์ทันทีที่โหลดเสร็จ (autoplay) และเล่นแบบวนซ้ำ (loop)

 

                   <video src ="myvideo.mp4"
                              Controls autoplay loop >
                  </video>

 

              5) การใช้คำสั่ง Poster ในการกำหนดภาพเบื้องต้นเมื่อวิดีโอนั้นยังไม่ถูกเล่น

 

                   <video src ="myvideo.mp4"
                         Poster ="posterimage.jpg">
                  </video>

 

              6) การกำหนดขนาดของกรอบวิดีโอด้วยคำสั่ง  width  และ  height

 

                   <video src ="myvideo.mp4"
                         width="300" height ="300">
                  </video>

 

                          เราไม่สามารถกำหนดขนาดของภาพได้โดยตรงเพราะ โปรแกรมจะคงสัดส่วนของภาพไว้เสมอ

 

               7) การปิดเสียงวิดีโอด้วยคำสั่ง muted

 

                 <video src ="myvideo.mp4" muted>
                </video>

 

5.1 การกำหนดไฟล์วิดีโอให้ใช้ได้กับทุกเบราว์เซอร์

             เช่นดียวกับการใส่ไฟล์ออดิโอ หากต้องการให้ไฟล์วิดีโอของเราใช้ได้กับเว็บเบราว์เซอร์ที่หลากหลาย เราจำเป็นต้องใส่ไฟล์วิดีโอหลายๆชนิด เพื่อให้ครอบคลุมการรองรับของเว็บเบราว์เซอร์เหล่านั้น โดยการใช้แท็กคำสั่ง
<source> เข้ามาช่วย ตัวอย่างเช่น

 

         <video width="320" height ="240" controls>
            <source src ="myvideo.mp4" type="video/mp4">
            <source src ="myvideo.ogv" type="video/.ogv">
            <source src ="myvideo.wedm" type="video/.wedm">
            No audio support!
        </video> <video src="ชื่อไฟล์วิดีโอ" ตัวควบคุม> ข้อความ </video>

 

              เมื่อเราใส่ไฟล์ให้เลือกแบบนี้ Internet Explorer และ Safari จะเล่นไฟล์ mp4, Firefox และ Chrome จะเล่นไฟล์ ogv,และเบราว์เซอร์อื่นๆ จะเล่นไฟล์ wedm
             ส่วนของ type จะเป็นส่วนที่ช่วยบอกให้เบราว์เซอร์รู้ว่าไฟล์ที่เรากำหนดนั้นเป็นไฟล์ชนิดใดซึ่งจะไม่ใส่ก็ได้ หากจะใส่ให้ดูได้จากตารางข้างล่างนี้

Capture.PNG

6. การเตรียมการสำหรับเบราว์เซอร์รุ่นเก่า
        ใน HTML รุ่นก่อนหน้า HTML5 นั้นจะใช้แท็กคำสั่ง <object> หรือ <embed> ในการจัดการกับไฟล์ออดิโอ
และวิดีโอ ในหน้าเว็บเพจ แต่ใน HTML5 ได้เพิ่มแท็กคำสั่ง <audio> และ <video> มาใช้แทนแต่อย่างไรก็ตาม
ใช่ว่า ทุกเว็บเบราว์เซอร์จะรองรับแท็กคำสั่ง <audio> และ <video> นี้ได้ ซึ่งเว็บเบราว์เซอร์ที่สามารถรองรับได้
จะมีดังนี้

                              Internet Explorer 9+            Firefox3.5+              safari 3+
                             Chrome 3+                            Opera 10.5+             iphone 1+
                             Android 2+

         หากเว็บเบราว์เซอร์ใดไม่รองรับก็จะข้ามแท็กคำสั่งนี้ไปเอง ดังนั้นหากเราต้องการให้ได้กับเว็บเบราว์เซอร์ทั้ง
เก่า และ ใหม่ ควรใช้แท็กคำสั่ง <embed> ร่วมด้วย

 

      6.1 การใสไฟล์ออดิโอด้วยแท็กคำสั่ง <embed>

 

                        <audio controls>
                              <source src ="myaudio.mp3">
                              < source src ="myaudio.ogg">
                              < embed src ="myaudio.mp3">
                       </audio>

 

          เมื่อใช้แท็กคำสั่ง <embed> กับไฟล์ออดิโอ เราสามารถใส่คำสั่งเสริมได้ 2 คำสั่ง คือ src และ autostart
เมื่อ src ใช้กำหนดชื่อไฟล์ออดิโอ และ autostart เพื่อเล่นไฟล์นั้นทันทีหรือไม่ ซึ่งโดยปกติแล้วไฟล์นั้นจะถูกเล่นทันที
แต่ถ้ายังไม่ต้องการให้เล่นให้ระบุคำสั่ง autostart =" false" ดังนี้

 

  <embed src ="myaudio.mp3"autostart="false">

 

           เราจะวางแท็กคำสั่ง <embed> ไว้แท็กใน <audio> ก็เพราะว่าเมื่อไฟล์ที่เราระบุไว้ก่อนหน้าแท็กคำสั่งนี้
สามารถเล่นได้เบราว์เซอร์จะข้ามคำสั่ง <embed> นี้ไป แต่ถ้าหากเบราว์เซอร์นั้นไม่รับรองแท็ก <audio> คำสั่ง
<embed> นี้จึงจะผล

 

        6.2 การใส่ไฟล์วิดีโอด้วยแท็กคำสั่ง<embed>
          และเช่นเดียวกับไฟล์ออดิโอ เราก็สามารถใช้แท็กคำสั่ง <embed> เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมที่ใช้เบราว์เซอร์
ที่ไม่รองรับแท็ก <video> ยังสามารถชมวิดีโอของเราได้ ดังตัวอย่าง

 

            <video width="320"height="240" controls>
               <source src ="myvideo.mp4" type="video/mp4">
               <source src ="myvideo.ogg" type="video/.ogg">
               <source src ="myvideo.wedm" type="video/.wedm">
               <embed src ="myvideo.mp4" type="application/x-shockwave-flash"                            

width ="320"height="240" >
           </video>

 รูปแบบของไฟล์ออดิโอ

            ไฟล์ออดิโอที่สามารถใช้ได้ใน HTML5 จะมีดังนี้

              1) Ogg Vorbis
                 Vorbis เป็นรูปแบบที่มุ่งเน้นที่เสียงเพลง  แต่ก็ยังรองรับรูปแบบเสียงสนทนาแบบบีบอัด (Opus) และรูปแบบการบีบอัดแบบไม่ลดคุณภาพ (FLAC) ทั้ง FLAC และ Vorbis เป็นที่นิยมใช้กับไฟล์เพลง แต่ก็เหมาะสม
กับการส่งผ่านทางออนไลน์  ชนิดของไฟล์ .Ogg นี้มาจากชื่อของรูปแบบ container ที่ไฟล์ Vorbis นิยมใช้

              2) H.264(MP4)
                มักรู้จักกันในชื่อ MPEG-4 , H.264 หรือ AVC (Advanced Video Coding)เป็นมาตรฐานการเข้ารหัสที่ถูกพัฒนาโดยITU-T Video Experts Group ร่วมกับ ISO/IEC JTC1 Motion Picre Experts Group (MPEG) การเข้ารหัสนี้รองรับวิดีโอแบบ HD และใช้แพร่หลายใน

                  - วิดีโอใน Vimeo Youtube , และ iTunes Store
                 - โปรแกรมเว็บ เช่น Adobe Flash Playe , Micsoft Silverlight
                 - การส่งผ่านทาง HDTV เคเบิ้ล และจานดาวเทียม

               3) VP8/9(WedM)
                   เป็นรูปแบบของออดิโอ-วิดีโอที่ออกแบบมาใช้กับ HTML5 video โดยเป็นไฟล์ที่ผมผสานระหว่างวิดีโอแบบ VP8 หรือ VP9 กับออดิโอแบบ Vorbis เข้าด้วยกัน ใช้ได้ดีกับเว็บเบราว์เซอร์ Firefox,Opera และ Chromec แต่สำหรับ Internet Explorer และ Safari จะต้องมี Plug-in ช่วย
ตารางแสดงการรองรับเบราว์เซอร์สำหรับรูปแบบของไฟล์มัลติมีเดีย

 

                             

                        ตารางแสดงการรองรับเบราว์เซอร์สำหรับรูปแบบของไฟล์มัลติมีเดีย                           

Capture_edited.png
bottom of page