top of page
  • White Facebook Icon
  • White Twitter Icon
  • White YouTube Icon

การใส่ไฟล์มัลติมีเดีย

(Multimedia)

สาระสำคัญ

ไฟล์มัลติมีเดีย   (Multimedia)

เป็นไฟล์สื่อผสมที่สามารถแสดงผลได้ทั้งภาพและเสียงโดยอาจจะเป็นไฟล์ออดิโอ ( Audio )   หรือไฟล์เสียงที่แสดงเฉพาะเสียงอย่างเดียว เช่น ไฟล์เพลง,ไฟล์เสียงคำบรรยาย ที่มักเรียกกันว่า คลิปเสียง หรืออาจเป็นไฟล์วิดีโอ ( video ) ที่แสดงได้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียงพร้อมกัน ที่มักเรียกว่า คลิปวิดีโอ ซึ่งทั้ง ออดิโอและวิดีโอนี้กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญและเว็บสมัยใหม่ไปแล้ว

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. บอกความหมายของมัลติมีเดียได้

2.   อธิบายถึงหลักการพื้นฐานของมัลติมีเดียใน HTMLได้

3.   อธิบายถึงชนิดของไฟล์มัลติมีเดียได้

4.   เรียนรู้ถึงวิธีการใส่ไฟล์มัลติมีเดียลงในเว็บดพจและอธิบายรุปแบบคำสั่งที่ใช้ได้

5.   เรียนรู้ถึงการเตรียมการสำหรับเบราว์เซอร์รุ่นเก่า

6.   สามารถใส่ไฟล์มัลติมีเดียลงในเว็บเพจตามต้องการและสามารถใช้งานได้กับเบราว์เซอร์ทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่

เนื้อหาสาระ

1. ไฟล์มัลติมีเดียคืออะไร?

2.   หลักการพื้นฐานของมัลติมีเดียใน HTML

3.   ชนิดไฟล์ของมัลติมีเดีย

4.  การใส่ไฟล์ออดิโอลงในเว็บเพจ

5.   การใส่ไฟล์วิด๊โอลงในเว็บเพจ

6.   การเตรียมการสำหรับเบราว์เซอร์รุ่นเก่า

ไฟล์มัลติมีเดียคืออะไร ?

ไฟล์มัลติมีเดีย  เป็นไฟล์สื่อผสมที่สามารถแสดงผลได้ทั้งภาพและเสียงโดยอาจจะเป็นไฟล์ออดิโอ หรือ ไฟล์เสียงที่แสดงเฉพาะเสียงอย่างเดียว เช่น ไฟล์เพลง,ไฟล์เสียงคำบรรยาย, ไฟล์เสียงสนทนา ที่มักเรียกกันว่าคลิปเสียง เป็นต้น หรืออาจจะเป็นไฟล์วิดีโอที่แสดงได้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียงพร้อมกัน มักดรียกกันว่า คลิปวิดีโอ 

   ทั้งออดิโอและวิดีโอนี้กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของเว็บสมัยใหม่ หลายเว็บไซต์ใช้ออดิโอและวิดีโอเป็นเนื้อหาหลักของเว็บเช่นเดียวกับข้อความและรูปภาพเคยเป็นในเว็บรุ่นก่อนๆ

android_app.1aff166e257b.png

เว็บไซต์   last.fm   เน้นการฟังเพลงเป็นหลัก

block-all-ads-for-youtube-vanced-ads-scr

เว็บไซต์  youtube.com   เน้นการดูวิดีโอเป็นหลัก

Features

หลักการพื้นฐานของมัลติมีเดียใน  HTML

                   วีธีการทั่วไปที่จะใส่ไฟล์มัลติมีเดียลงในหน้าเว็บเพจก็คือการฝังคลิปเสียงหรือคลิปวิดีโอนั้นลงในเว็บเพจ 

          ซึ่งมันจะแสดงผลอยู่ในหน้าเว็บเพจนั้นเมื่อผู้เยี่ยมชมคลิกที่ปุ่มที่กำหนดแต่การแสดงผลได้นั้นเว็บเบราว์เซอร์

ที่ผู้เยี่ยมชมใช้อยุ่นั้นจะต้องรับรองชนิดของไฟล์เสียง หรือ วิดีโอนั้นๆด้วย หรือไม่ก็ต้องทำการดาวน์โหลดและติด

ตั้งโปรแกรมเสริมที่เรียกว่า plug-in หรือhelperเพื่อช่วยเสริมให้สามารถแสดงผลไฟล์ชนิดนั้นๆ ได้ หากผู้เยี่ยมชม

ลของเราใช้เว็บเบราว์เซอร์ lnternt Explorer5.5 หรือสูงกว่า เราสามารถใช้แท็กคำสั่ง <object>   เพื่อการนี้ได้

มิฉะนั้นแล้วเราควรใช้แท็กคำสั่ง <embed> แทนแต่ถ้าหากผู้เยี่ยมชมเว็บเบราว์เซอร์ที่รองรับ HTML5 เราสามารถช้

แท็กคำสั่ง<audilo> และ <video>   ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ได้เลย

อีกหนึ่งวิธีคือ การสร้างการเชื่อมโยงไปยัคลิปเสียงหรือคลิปวิดีโอที่ต้องการ เพื่อมห้แสดงผลด้วยโปรแกรมภานอก เช่น Winodows  Media Player เมื่อผู้เยี่ยมชมคลิกที่จุดเชื่อมโยงนั้น ในการทำเช่นนี้ ผู้เยี่ยมชมก็จะต้องมีโปรแกรมภายนอกนั้นติดตั้งอยู๋ในระบบของเขาด้วย วึ่งการสร้างจุดเชื่อมโยงนี้เหมือนกันในทุกเบราว์เซอร์โดยใช้แท็กคำสั่ง <a> เช่นเดียวกับการสร้างจุดเชื่อใมโยงอื่นๆ

                                 

                                        ตัวอย่างเช่น         

                      

 

        <a href="mysong.mp3">Playing my song!</a>

ปลั๊กอิน(plug-in)
     เป็นไฟล์ควบคุมการแสดงผลในลักษณะของภาพและเสียงที่ทำการฝังตัวเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม
เบราว์เซอร์และไฟล์เหล่านี้จะถูกเรียกใช้โดยอัตโนมัติเมื่อเราเรียกใช้โปรแกรมเบราว์เซอร์

เฮลเปอร์ (Helper Application)
      เป็นโปรแกรมควบคุมการแสดงผลที่แยกเป็นอิสระไม่ฝังตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมเบราว์เซอร์และจะถูก
เรียกใช้เมื่อโปรแกรมเบราว์เซอร์ต้องการ แก้ไขปัญหาในกรณีที่โปรแกรมเบราว์เซอร์ ไม่รู้จักและไม่สามารถแสดผลได้
โปรแกรมเบราว์เซอร์จะทำการค้นหาโปรแกรมที่ถูกกำหนดไว้ โดยผู้ใช้ในส่วนที่เรียกว่า เฮลเปอร์ (Helper)
เพื่อแก้ปัญหาดังกล่

Screenshots

ชนิดของไฟล์มัลติมีเดีย



          ไฟล์มัลติมีเดียมีทั้งภาพและเสียงที่จะฝังลงบนหน้าเว็บจะเกี่ยวข้องกับ 2 ส่วนคือ รูปแบบของ Container และ
Codec โดยที่

    3.1 Container
          จะเป็นตัวห่อหุ้มที่บรรจุข้อมูลสำคัญทั้งหมดที่ประกอบเป็นไฟล์วิดีโอนั้นเพื่อให้เข้าถึงได้เหมือนกับไฟล์ ZIP
(.zip หรือ .rar) ที่บรรจุไฟล์อยู่ภายในตัวอย่างของ Video container ที่รู้จักกันดี ได้แก่ flash Video (.flv), MPEG-4
(.mp4หรือ .m4v),และ AVI (.avi)  ข้อมูลที่ถูกบรรจุอยู่ใน Video container จะรวมถึงส่วนของภาพ (Video track) ,
ส่วนของเสียง (Audio track) พร้อมด้วยตัวกำหนดตำแหน่ง (Marker) เพื่อให้ภาพและเสียงตรงกัน, ส่วนของข้อมูล
ทางภาษา, และข้อมูลของเนื้อหานั้นเรียกรวมกันว่า Metadata

     3.2 Codec
          ในทางทฤษฎีแล้วส่วนของออดิโอ (audio) จะถูกจัดเก็บเสียงในรูปของความถี่ของคลื่นเสียงในขณะที่ส่วน
ของวิดีโอ (video)  จะถูกจัดเก็บในรูปของจุดสี (pixel) แต่ในละเฟรม (ปกติ25-30 เฟรมต่อวินาที) ซึ่งมีผลให้ได้
ไฟล์ขนาดใหญ่เกินความจำเป็น

Screen-Shot-2014-08-27-at-14.35_edited.p

    ในทางปฏิบัติ เราจึงต้องการที่จะบีบอัดไฟล์ออดิโอและวิดีโอเหล่านี้ให้มีขนาดเล็กลงเช่นเดียวกับ
การบีบอัดไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ลงในไฟล์ ZIP ในการนี้ Codec คือสิ่งที่เรานำมาใช้ในการบีบอัดข้อมูล
ออดิโอและวิดีโอเพื่อจัดเก็บและขยายกลับไปเป็นข้อมูลเดิมเมื่อจะนำมาใช้
          
          Codec ย่อมาจากคำว่า compressor/decompressor(หรือ coder/decoder) จะหมายถึงลักษณะที่วิดีโอหรือ
ออดิโอถูกเข้ารหัสหรือจัดรูปแบบไว้ การถอดรหัสไฟล์วิดีโอหรือออดิโอนี้เครื่องคอมพิวเตอร์จะใช้กรรมวิธีในการแปล
รหัสเหล่านี้ให้กลับมาอยู่ในรูปแบบที่มนุษย์รับรู้ได้  
         
          Codec  จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ IossIess และ Iossy  เมื่อ  IossIess  เป็นการลดขนาดไฟล์แต่ไม่ลด
คุณภาพ ซึ่งมีผลให้ขนาดของไฟล์ยังใหญ่อยู่พอควรในขณะที่ Iossy จะลดขนาดไฟล์โดยตัดข้อมูลที่ไม่จำเป็นออก
ทำให้ขนาดไฟล์เล็กลงแต่มีคุณภาพก็ไม่ลดลงตามไปด้วย แต่ก็เหมาะสำหรับการแสดงผลในเว็บมากกว่า

           Codec จะมี 2 ส่วนด้วยกัน คือ

           1) Video Codec

                Video Codec  เป็นส่วนที่กำหนดกระบวนการของการเข้ารหัสและถอดรหัสของกระแสข้อมูลมัลติมีเดีย Codec หนึ่งๆ สามารถเข้ารหัสข้อมูลเพื่อใช้ในการสั่ง,เก็บ, หรือเข้ารหัสลับหรือทำการถอดรหัสเพื่อแสดงผลหรือแก้ไข
Video codec ที่เข้ากับ HTML5 video ได้แก่ H.264, Theora, และ VP8

           2) Audio Codec

                Audio Codec ตามทฤษฏีแล้วจะทำงานเหมือนกับ Video codec เพียงแต่จะเกี่ยวข้องเฉพาะส่วนของเสียง
เท่านั้น Audio Codec ที่เข้ากับ HTML5 audio ได้แก่ AAC และ Vorbis

Review
bottom of page