“บิตคอยน์”
4 เฟสของพัฒนาการใน Cryptocurrency
เมื่อเราศึกษาพัฒนาการของราคา Cryptocurrency เช่น บิตคอยน์ เราจะแบ่งการพัฒนาได้เป็นทั้งหมด 4 เฟส
- เฟสแรก คือการที่นักลงทุนรายบุคคล (Individual Investor) เข้าไปเก็งกำไรในช่วงปี 2016-2017 ในช่วงเวลาที่บิตคอยน์พุ่งไปที่ $20,000/เหรียญ ก่อนที่จะตกลงมาสู่ระดับ $5,000/เหรียญ ในระยะเวลาอันรวดเร็ว
- เฟสที่สอง คือการที่นักลงทุนสถาบัน (Institutional Investor) เข้ามาซื้อบิตคอยน์ในช่วง ไตรมาส 4 ปี2020 หลังจากที่นาย โจ ไบเดน ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งทำให้ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐอ่อนค่าลงทันที และนักลงทุน สถาบันการเงิน บริษัท เช่น Payment Tech, New Tech เริ่มเข้าซื้อบิตคอยน์ ส่งผลให้ราคาบิตคอยน์ปรับตัวเพิ่มขึ้นจนถึงระดับ $40,000/เหรียญ อย่างรวดเร็ว
- เฟสที่สาม จะเป็นการใช้ Cryptocurrency ในระดับบริษัทเอกชน (Corporate Accounts) มีรายงานจากสำนักข่าว Reuters ว่าบริษัทในญี่ปุ่นกว่า 30 แห่ง ได้มีความร่วมมือในการพัฒนา Private Digital Yen เพื่อใช้เป็น pool เชิงการค้าระหว่างกันและทดลองใช้งานในปี 2021
- เฟสที่สี่ ธนาคารกลางในแต่ละประเทศออกสกุลเงินดิจิทัลของตนเอง (Central Bank Currencies (CBDCs))
การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล มีหลากหลายวิธี ได้แก่
1. การซื้อสะสมเท่า ๆ กันทุกเดือน (DCA)
2. การรอจังหวะเข้าซื้อในระดับราคาที่พึงพอใจ
3. การซื้อ-ขาย เก็งกำไรส่วนต่างราคาในระยะสั้น
ซึ่งแต่ละรูปแบบนั้นก็คล้ายกับการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ ที่มีอยู่เดิมนั่นเอง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาบิตคอยน์
ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างบิตคอยน์นั้น เกิดขึ้นจากคุณสมบัติข้อหนึ่งของบิตคอยน์คือ การมีอยู่อย่างจำกัดที่ 21 ล้านเหรียญ ซึ่งการมีจำนวนอยู่อย่างจำกัดนี้เอง ทำให้เกิดความเชื่อขึ้นว่าบิตคอยน์นั้น สามารถมีคุณสมบัติการเก็บมูลค่า (store of value) เหมือนสินทรัพย์อย่างทองคำ และจะไม่เกิดการเฟ้อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณเหรียญ ดังนั้นเมื่อเกิดความต้องการซื้อ ต้องการถือครองบิตคอยน์มากขึ้น ก็ส่งผลให้ราคาของเหรียญบิตคอยน์มีมูลค่าสูงขึ้น หรือหากเกิดผลในทางตรงข้ามก็จะส่งผลให้ราคาลดลงเช่นกัน
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความต้องการใช้สกุลเงินดิจิทัล
Digital Currency Group (DCG) ได้ทำการสำรวจ ปัจจัยเชิงมหภาค ที่ส่งผลกระทบต่อการนำสกุลเงินดิจิทัลมาใช้ ดังนี้
1. เศรษฐกิจโลกถดถอย (24%)
2. ความกังวลด้านเงินเฟ้อจากผลของนโยบายของธนาคารกลางโลก (19%)
3. การไล่ล่าหาผลตอบแทน (17%)
4. ความต้องการกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ใหม่ (13%)
5. ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (13%)
Bitcoin คืออะไร
Bitcoin (อ่านว่าบิทคอยน์) คือสกุลเงินในรูปแบบของดิจิทัล ถูกสร้างขึ้นมาด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ Bitcoin ไม่มีรูปร่างและไม่สามารถจับต้องได้เหมือนธนบัตรหรือเหรียญเงินบาท Bitcoin ถูกสร้างขึ้นมาด้วยกลุ่มนักพัฒนาเล็กๆกลุ่มหนึ่งตลอดจนบริษัทใหญ่ๆทั่วโลก โดยระบบของ Bitcoin ถูกรันโดยคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานทั่วโลก โดยใช้ระบบซอฟต์แวร์ในการถอดสมการคณิตศาสตร์
Bitcoin ถือเป็นสกุลเงินแรกของโลกที่ถูกเรียกว่าคริปโตเคอเรนซี (cryptocurrency)
อะไรทำให้ Bitcoin แตกต่างจากสกุลเงินทั่วๆไป
Bitcoin สามารถใช้แทนเงินสดซื้อสินค้าออนไลน์ อาจคล้ายกับระบบซื้อขายผ่านอินเทอร์เนตทั่วๆไปที่ใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต
อย่างไรก็ตาม ความพิเศษของ Bitcoin ที่เป็นตัวช่วยให้มันเป็นที่นิยมคือมันถูกควบคุมแบบกระจาย (decentralize) กล่าวคือไม่มีสถาบันการเงินไหนสามารถควบคุมบิมคอยได้ ซึ่งนั่นทำให้ผู้คนที่เลือกใช้ Bitcoin ส่วนใหญ่สบายใจเนื่องจากแม้แต่ธนาคารก็ไม่สามารถควบคุม Bitcoin ได้
ใครเป็นคนสร้าง Bitcoin
นักพัฒนาด้านซอฟต์แวร์ผู้ใช้นามแฝงว่าซาโตชิ นาคาโมโตะเป็นผู้พัฒนา Bitcoin ขึ้นมาซึ่งเป็นระบบจ่ายเงินที่อ้างอิงอยู่บนการถอดสมการคณิตศาสตร์ โดยจุดประสงค์ของเขาคือการสร้างสกุลเงินที่เป็นอิสระจากรัฐบาลและธนาคาร, สามารถส่งหากันผ่านระบบอินเทอร์เนตและมีค่าธรรมเนียมที่ถูกมากๆ
ใครพิมพ์ Bitcoin
ไม่มีใครสามารถพิมพ์ Bitcoin ได้ เพราะมันเป็นสกุลเงินที่ไม่สามารถจับต้องได้เหมือนกับธนบัตรที่ถูกพิมพ์โดยรัฐบาล, ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาให้สอดคล้องกับจำนวนประชากร และมันมีกฏเกณฑ์ในตัวของมันเอง ในขณะที่ธนาคารกลางบางประเทศสามารถที่จะพิมพ์เงินได้เองเพื่อกู้วิกฤติหนี้แห่งชาติ หรือประกาศอ่อนค่าเงินของตัวเอง
แต่ Bitcoin ถูกสร้างขึ้นโดยเป็นเหมือนกับไฟล์คอมพิวเตอร์ โดยกลุ่มนักพัฒนาอิสระที่ใครๆก็สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ การจะผลิต Bitcoin ขึ้นมาได้นั้นต้องใช้วิธีการ “ขุด” โดยการใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่บนเครือข่ายที่จัดวางไว้ให้เท่านั้น
โดยเครือข่ายนี้ยังสามารถที่จะใช้เพื่อช่วยในการจัดการการโอนส่ง Bitcoin ให้กันได้ ซึ่งหากจะเรียกแล้ว มันก็คือเครือข่ายส่วนตัวของ Bitcoin นั่นเอง
ถ้างั้น Bitcoin ก็สามารถถูกสร้างขึ้นมาแบบมีจำกัดใช่หรือไม่
ใช่แล้ว ด้วยการมีอยู่ของระบบ Bitcoin โพรโตคอล ซึ่งเปรียบเสมือนกับผู้คุมกฏแห่งเครือข่าย Bitcoin ได้กล่าวไว้ว่า Bitcoin จะสามารถที่จะถูกผลิตขึ้นมาได้เพียงแค่ 21 ล้าน Bitcoin เท่านั้น อย่างไรก็ตาม เจ้า Bitcoin พวกนี้สามารถที่จะถูกแบ่งออกเป็นจำนวนย่อยๆได้ (โดยหน่วยที่เล็กที่สุดของ Bitcoin คิดเป็นหนึ่งร้อยล้านต่อ 1 Bitcoin โดยหน่วยนี้ถูกเรียกว่า “ ซาโตชิ” เพื่อเป็นเกียรติให้กับผู้สร้าง Bitcoin )
ราคา Bitcoin ถูกอ้างอิงจากอะไร
หน่วยเงินที่เราคุ้นเคยกันดีนั้นมักจะถูกนำมาผูกติดกับราคาของทองหรือเงิน โดนทฤษฎีแล้ว ถ้าคุณเดินไปซื้อทองที่ร้านทองด้วยเงินบาท คุณก็จะได้ทองกลับบ้าน แต่ในขณะเดียวกัน Bitcoin นั้นไม่ได้ถูกอ้างอิงกับทอง แต่ถูกอ้างอิงด้วยสมการทางคณิตศาสตร์
ผู้คนทั่วโลกกำลังใช้ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการถอดสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อผลิต Bitcoin โดยสูตรทางคณิตศาสตร์เหล่านี้มีอยู่ให้หาได้แบบไม่คิดเงิน ทำให้แม้แต่คุณก็สามารถเข้าไปตรวจเช็คได้แบบฟรีๆ
โดยซฟอต์แวร์ที่ว่านั้นเป็นระบบ open source แปลว่าทุกคนสามารถที่จะตรวจสอบความโปร่งใสได้
หากนึกถึง Bitcoin ควรจะนึกถึงอะไร
Bitcoin มีความพิเศษในตัวมันเองที่ทำให้แม้แต่ค่าเงินของรัฐบาลก็ไม่อาจเลียนแบบได้
-
มันใช้เทคโนโลยีการกระจาย เครือข่ายของ Bitcoin ไม่ได้ถูกควบคุมโดยศูนย์กลางที่ไหนหรือใครคนใดคนหนึ่ง เครื่องขุด Bitcoin ทุกๆเครื่องมีส่วนช่วยในการทำธุรกรรมในการจ่ายเงินของ Bitcoin และเครื่องขุดเหล่านี้ทำงานด้วยกันทั่วโลก ซึ่งแปลว่าในทางทฏษฎีแล้ว ทางรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจไม่สามารถที่จะเข้ามายึดหรือสั่งทำลายเครื่องขุด Bitcoin เพียงแค่เครื่องใดเครื่องหนึ่งเพื่อหวังให้ระบบเครือข่ายของ Bitcoin ล่มสลายได้ หรือแม้แต่พยายามที่จะยึดเอา Bitcoin มาเป็นของตัวเองแบบที่ธนาคารกลางแห่งยุโรปเคยพยายามลองทำมาแล้วที่ Cyprus ในปี 2013 แต่ก็ล้มเหลว ประเด็นคือถ้าอยากจะทำลาย Bitcoin ให้หมดไปจากโลกนี้ ทางรัฐบาลอาจต้องไล่ทำลายเครื่องขุด Bitcoin ที่มีกระจายไปอยู่ทั่วโลกนั่นเอง
-
มันง่ายต่อการติดตั้ง ธนาคารส่วนใหญ่มักจะพยายามหลอกล่อและเชิญให้คุณมาเปิดบัญชีธนาคารที่มีขั้นตอนการเปิดที่ยุ่งยาก ลืมเรื่องการเปิดบัญชีธนาคารเพื่อการค้าขายแบบง่ายๆไปได้เลย ในขณะเดียวกันการเปิดใช้งานกระเป๋า Bitcoin สามารถที่จะทำได้ให้เสร็จได้ง่ายในระดับวินาที ไม่มีคำถามมาถามให้กวนใจ และไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น
-
มันไร้ตัวตน ซึ่งก็ใช่ เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถที่จะถือบัญชี Bitcoin ได้ทีละหลายๆบัญชี และบัญชีเหล่านั้นก็ไม่ได้มีชื่อหรือข้อมูลส่วนตัวของคุณมาเชื่อมกับมัน แต่ทว่า…
-
มันโปร่งใสแบบ 100% รายละเอียดการเก็บ Bitcoin นั้นละเอียดในระดับถึงขั้นที่สามารถตรวจจับไปจนถึงการโอนครั้งแรกตั้งแต่มี Bitcoin มาเลยทีเดียว โดยสมุดบัญชีการโอนของ Bitcoin นั้นเราจะเรียกมันว่าบล็อกเชน ( Blockchain) โดยบล็อกเชนที่ว่านี้จะเปรียบเสมือนสมุดบัญชีธนาคารกลางที่สามารถบอกการเคลื่อนไหวของบัญชี Bitcoin ทั่วโลกถ้าหากคุณมีบัญชี Bitcoin ที่เคยใช้ส่งหรือรับ Bitcoin ละก็ ทุกคนสามารถที่จะเข้ามาตรวจได้ว่าแต่ละบัญชีเคยมีการเคลื่อนไหวของจำนวน Bitcoin เข้าออกมาแล้วกี่ Bitcoin แต่พวกเขาไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าอันไหนเป็นของคุณมีเทคนิคที่ผู้ใช้ Bitcoin บางคนนำมาแนะเพื่อเพิ่มความไร้ตัวตนให้คุณด้วยการไม่ใช้กระเป๋าเงิน Bitcoin ใบเดียวตลอดหลายๆครั้ง และการโอน Bitcoin ไปทีละเยอะๆกระจายๆไปทีละหลายๆกระเป๋า
-
ค่าธรรมเนียมที่ต่ำติดดิน ธนาคารอาจจะคิดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินกับคุณประมาณ 35-500 บาท แต่ Bitcoin ไม่
-
การโอนที่รวดเร็วมาก คุณสามารถที่จะส่ง Bitcoin ไปหาใครก็ได้บนโลกนี้โดย Bitcoin ที่คุณส่งข้ามโลกไปหาอีกคนนั้น จะไปปรากฏที่กระเป๋าเงินของเขาในระดับนาที
-
เรียกคืนไม่ได้ เมื่อ Bitcoin ของคุณถูกส่งออกไปนั้น มันจะไม่มีวันกลับมาหาคุณอีก หรือนอกจากผู้ได้รับจะส่งมันกลับคืนมาหาคุณ
สรุปคือ Bitcoin นั้นมีข้อดีที่มากอยู่พอสมควรในทางทฤษฎี แต่มันทำงานอย่างไรล่ะ ลองอ่านบทความนี้ดูเกี่ยวกับวิธีการที่ Bitcoin ถูกสร้างขึ้น และจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีการส่ง Bitcoin กันเกิดขึ้นรวมไปถึงวิธีที่เครือข่าย Bitcoin ทำงาน