WordPress
รูปแบบของ WordPress
WordPress สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
• Wordpress.com
เป็นบริการเว็บไซต์ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมี Blog เป็นของตัวเองหรือผู้ที่เริ่มต้นทดลองใช้งานเว็บไซต์ เพราะเพียงแค่สมัครสมาชิกกับทาง Wordpress.com ก็ใช้งานได้ฟรีทันที แต่จะมีความยืดหยุ่นน้อย ทั้ง Theme และ Plugin ไม่สามารถนำจากภายนอกมาติดตั้งได้ ส่วนชื่อของเว็บไซต์ จะสามารถใช้ได้ในรูปแบบซัพโดเมน คือ "ชื่อบล็อกของเรา.wordpress.com"
แต่ว่าเราสามารถอัพเกรดความสามารถของเว็บไซต์ได้โดยเสียเงินเพิ่ม (ชำระเป็นรายปี) ซึ่งมีให้เลือกหลายแพลนตามความต้องการและตอบโจทย์การใช้งานมากขึ้น เช่น จดชื่อโดเมนเป็นของตัวเอง, ปรับเปลี่ยน Theme ให้มีลูกเล่นมากขึ้น, เพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล, ลง Plugin เพิ่ม เป็นต้น
• Wordpress.org
เป็นซอฟต์แวร์ที่ให้เราดาวน์โหลดได้ฟรี เพื่อมาติดตั้งที่ Hosting (ที่สำหรับเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ไว้บนอินเตอร์เน็ต) สามารถนำไปสร้างเว็บไซต์ได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งหน้าเว็บ หรือการนำ Theme และ Plugin จากภายนอกมาติดตั้ง หรือการทำเว็บไซต์แบบ E-commerce ที่มีระบบตะกร้าสินค้า เป็นต้น
ปัจจุบันเว็บไซต์ส่วนใหญ่ก็ใช้ WordPress ในรูปแบบนี้ ทั้งนี้เราต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ ต่างหาก ทั้งการจดชื่อโดเมนและการเช่า Hosting ซึ่งค่าบริการก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของ Hosting รวมถึงค่าใช้จ่ายในการออกแบบเว็บไซต์ในกรณีที่เราไม่สามารถสร้างได้ด้วยตัวเอง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะนิยมเลือกซื้อ Theme จากเว็บไซต์ Themeforest.net เพราะมีรูปแบบให้เลือกมากมายและมีราคาไม่สูงนัก ซึ่งขั้นตอนการติดตั้งและใช้งานก็ไม่ยุ่งยากจนเกินไป สามารถศึกษาและทำได้เองตามคู่มือจาก Theme ที่ซื้อมา
WordPress เป็นอย่างไรในปัจจุบัน
ตารางข้อมูลด้านล่าง บอกรายละเอียดของ WordPress ในปัจจุบันครับ
จำนวนเว็บไซต์ ที่ใช้งาน WordPressคิดเป็น 32% ของจำนวนเว็บไซต์บนโลก
จำนวน Template หรือ Themeมากที่สุดในโลกของ CMS
จำนวน Plugins หรือ Addonsมากกว่า CMS ตัวอื่นๆในโลก
ความง่ายในการใช้งานใช้งานง่ายกว่า Open Source CMS ตัวอื่น อย่าง Joomla, Drupal
แหล่งข้อมูลการใช้ WordPressจำนวนมหาศาล มีแทบทุกภาษา
จำนวนนักพัฒนาเว็บไซต์ที่ใช้ WordPressมากที่สุดในบรรดา CMS
ความสับสนระหว่าง WordPress.com และ WordPress.org
เวลาที่เราค้นหาข้อมูล แล้วได้ยินคนพูดถึง WordPress เราอาจจะเจอ เว็บไซต์ 2 เว็บ นั่นก็คือ WordPress.com และ WordPress.org นั่นเอง ซึ่ง 2 เว็บไซต์ นี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงครับ ผมสรุปให้แบบนี้ครับ
การเตรียมตัวก่อน เริ่มสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress
ก่อนที่เราจะสร้างเว็บไซต์ ด้วย WordPress ได้ เราต้องรู้จักคำว่า โดเมน และ เว็บโฮสติ้งก่อนครับ ซึ่งการที่เว็บไซต์ของเรา จะออนไลน์ได้ เราจะเป็นที่จะต้องมี โดเมน และ เว็บโฮสติ้งครับ วิธีการที่เราจะได้มาคือ เราต้องไปเช่ากับผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง แต่ก็ยังมีอีกวิธีนึง ถ้าเราต้องการลองเล่น WordPress ดูเราสามารถที่จะติดตั้ง WordPress บนเครื่องตัวเองก็ได้เช่นกัน
การติดตั้ง WordPress ทำได้ 2 วิธี
สำหรับการติดตั้ง WordPress เราสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 ติดตั้ง WordPress บนเว็บโฮสติ้ง ทำอย่างไร ?
การติดตั้ง WordPress บนเว็บโฮสติ้ง คือการติดตั้ง WordPress ให้พร้อมใช้งานจริงเลย นั่นหมายความว่า คนสามารถเข้ามาดูเว็บไซต์ของเราได้เลย หลังจากที่เราติดตั้งและเผยแพร่ข้อมูลของเรา
ซึ่งวิธีการติดตั้ง WordPress บนเว็บโฮสติ้ง ในยุคนี้ง่ายอย่างมากมายครับ เพราะมีตัวช่วยที่ชื่อว่า One Click หรือ Auto Installer ครับ หรือ ถ้าใครอยากติดตั้งด้วยวิธี FTP ในตำนาน ก็สามารถทำได้เช่นกันครับ มาดูกันได้เลยครับ
ถ้ายังไม่มี SSL ทำการสร้าง SSL ใน เว็บโฮสติ้งก่อน
SSL จะทำให้เว็บไซต์ของเราปลอดภัย และ เป็นปัจจัยอันดับต้นๆ ที่ Google หรือ Search Engine จะพิจารณาเว็บไซต์ของเราให้ติดอันดับ ถ้าใครยังไม่มี SSL สามารถติดตั้งได้ดังนี้ครับ
เมื่อเรา Login เข้าไปใน Control Panel มาแล้ว ซึ่งผมใช้ Direct Admin ยี่ห้ออื่น ก็จะมีเมนูที่คล้ายกัน ว่ากันง่ายๆ ตัวสร้าง SSL มีทุกยี่ห้อในสมัยนี้ ให้เข้าไปที่เมนู SSL Certificate ได้เลย
การสร้าง SSL Certificate ใน Direct Admin
จากนั้น ให้เราเลือก สร้าง Free & Automatic Certificate from Let’s Encrypt แล้วเลือก Domain กับ Subdomain ให้ถูกต้อง จากนั้น กด Save ครับ
การตั้งค่า SSL ใน Direct Admin
เสร็จแล้วให้เรารอ 10 นาที ระบบจะสร้าง Certificate เป็น Code Computer ชุดหนึ่งหน้าตาเป็นแบบนี้ครับ
Certificate Code จาก Let’s Encrypt
หลังจากที่เราเห็น Code เรียบร้อยแล้ว ให้เราลงมาด้านล่าง ติ๊กตรงคำว่า Force SSL แล้วกด Save 1 ครั้งครับ
Force SSL Redirection ใน Direct Admin
ตัวเลือกนี้ จะทำให้ เวลาที่คนเข้าเว็บไซต์มาด้วย http จะกลายเป็น https โดยอัตโนมัติ แต่ใช้ได้กับบางเว็บโฮสติ้งเท่านั้น
วิธีที่ 2 ติดตั้ง WordPress บนเครื่องตัวเอง ทำอย่างไร ?
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า WordPress จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อ ทำงานบน Web Server เท่านั้น ซึ่งในระบบของเว็บโฮสติ้ง มีการติดตั้ง Web Server อยู่ WordPress จึงจะทำงานได้
แต่ถ้าเราต้องการจะให้ WordPress ทำงานได้ที่เครื่องของเราเอง เราจะต้องจำลองเครื่องของเราเป็น Web Server ก่อนครับ ซึ่งวิธีการจำลองนั้น ไม่ยากครับ เพราะปัจจุบัน มี Software สำเร็จรูป มากมายที่จะแปลงให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เป็น Web Server ได้ เครื่องมือเหล่านั้นได้แก่…
-
Xampp เป็น Software Free ยอดนิยมในการจำลอง Server ของนักพัฒนาเว็บไซต์
-
Mamp มีทั้ง Version Free และ Version Pro ใช้งานไม่ต่างกับ Xampp แต่ Version Pro ชีวิตสบายขึ้นเยอะเลย
-
LocalWP น้องใหม่ในวงการ จำลอง Web Server ใช้ได้ฟรีเช่นกัน
-
Bitnami WordPress Stack ตัวนี้ผมแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้น เพราะเขาติดตั้ง WordPress มาให้เลย ไม่ต้องยุ่งยากในการ Download WordPress มาติดตั้งเองอีกที
โดเมน คืออะไร ?
โดเมน เปรียบเสมือน ป้ายบอกทาง ชี้ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์นี้ เราเรียกว่าเว็บโฮสติ้งครับ มีลักษณะแบบนี้ครับ
mydomain.tld หรือ ชื่อโดเมน.นามสกุล
รูปแบบของโดเมนเนม
ซึ่ง tld ก็มีหลากหลาย ประเภท หรือเราจะเรียกว่า นามสกุล ก็ได้ ตัวอย่างเช่น
-
.com ใช้สำหรับ บริษัท ห้างร้านต่างๆ หรือ ตัวแทน Company นั่นเอง
-
.net ใช้กับองค์กร ที่เกี่ยวกับ Internet
-
.org ใช้กับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร หรือ องค์กรการกุศล
แต่ในปัจจุบันนี้มี TLD เกิดขึ้นมากมายครับ เช่น .io, .me, .website, .solutions หรือแม้กระทั่ง .ninja ก็ยังมี เราสามารถจดทะเบียนได้หมด ขึ้นอยู่กับว่า เราอยากจะเอาไปใช้แบบไหน แต่ข้อแนะนำคือ เราพยายามหาจด .com ดีกว่า เพราะคนส่วนมาก ก็ยังคุ้นเคยกับ .com อยู่ดี
ดังนั้นถ้าเราจดโดเมนเอาไว้เป็นของเราแล้ว เราก็สามารถที่จะชี้ไปที่ เว็บโฮสติ้งไหนก็ได้ หรือ ย้ายไปยังเว็บโฮสติ้งไหนก็ได้เช่นกันครับ